วันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ฟังก์ชันขั้นบันได

ฟังก์ชันขั้นบันได
  ฟังก์ชันขั้นบันได หมายถึง ฟังก์ชันที่มีโดเมนเป็นสับเซตของจำนวนจริง และมีค่าของฟังก์ชันเป็นค่าคงตัวเป็นช่วงๆ มากกว่าสองช่วง กราฟของฟังก์ชันนี้มีลักษณะคล้ายขั้นบัน  อ่านต่อ

4.3 ฟังก์ชันกำลังสอง

4.3 ฟังก์ชันกำลังสอง

                  ฟังก์ชันกำลังสอง  คือ  ฟังก์ชันที่อยู่ในรูป   y = ax2 + bx + c เมื่อ  a,b,c  เป็นจำนวนจริงใดๆ  และ  0 ลักษณะของกราฟของฟังก์ชันนี้ขึ้นอยู่กับค่าของ a , b  และ   และเมื่อค่าของ   เป็นบวกหรือลบ  จะทำให้ได้กราฟเป็นเส้นโค้งหงายหรือคว่ำ

จากรูปจะเห็นว่า  ถ้า  a > 0  กราฟเป็นเส้นโค้งหงายขึ้น
                                       a < 0  กราฟเป็นเส้นโค้งคว่ำลง
 กราฟของฟังก์ชันกำลังสองในรูปนี้มีชื่อว่า  พาราโบลา

ในกรณีทั่วไป  กราฟของ    y = a(x-h)2 + k  ,  0  จะมีจุดที่กราฟวกกลับดังนี้
 f(x) = a(x-h)2 + k , > 0  

จากรูปกราฟของ   มีจุดวกกลับที่จุด  (h,k)  ซึ่งเป็นจุดที่  f(x)  มีค่าต่ำสุด  และ  f(h)  =  k  เป็นค่าต่ำสุดของ  f
  f(x) = a(x-h)2 + k , < 0  

4.2 ฟังก์ชันเชิงเส้น

4.2 ฟังก์ชันเชิงเส้น
ฟังก์ชันเชิงเส้น   คือ ฟังก์ชันที่อยู่ในรูป y = ax+b เมื่อ a ,b เป็นจำนวนจริง และ  กราฟของฟังก์ชันเชิงเส้นจะเป็นเส้นตรง

ตัวอย่างของฟังก์ชันเชิงเส้น   ได้แก่
           1)   y = x  
2)   y =2x +1

วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

4.1 ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน

4.1 ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน

คู่อันดับ (Order Pairเป็นการจับคู่สิ่งของโดยถือลำดับเป็นสำคัญ เช่น คู่อันดับ ab จะเขียนแทนด้วย (ab) เรียก a ว่าเป็นสมาชิกตัวหน้า และเรียก b ว่าเป็นสมาชิกตัวหลัง
(การเท่ากับของคู่อันดับ) (ab) = (c, d) ก็ต่อเมื่อ a = c และ b = d
ผลคูณคาร์ทีเชียน (Cartesian Product) ผลคูณคาร์ทีเซียนของเซต A และเซต B คือ เซตของคู่อันดับ (ab) ทั้งหมด โดยที่ a เป็นสมาชิกของเซต A และ b เป็นสมาชิกของเซต B
สัญลักษณ์      ผลคูณคาร์ทีเซียนของเซต A และเซต B เขียนแทนด้วย A x B
หรือ เขียนในรูปเซตแบบบอกเงื่อนไขจะได้ว่า 
ความสัมพันธ์ (Relation)r เป็นความสัมพันธ์จาก A ไป B ก็ต่อเมื่อ r เป็นสับเซตของ A x B
โดเมน (Domain) และ เรนจ์ (พิสัย) (Range)
  1. โดเมน (Domain) ของความสัมพันธ์ r คือ เซตที่มีสมาชิกตัวหน้าของทุกคู่อันดับในความสัมพันธ์ rใช้สัญลักษณ์แทนด้วย Dr ดังนั้น  Dr = {x | (xy) ε r}
  2.  เรนจ์ (Range) ของความสัมพันธ์ r คือ เซตที่มีสมาชิกตัวหลังของทุกคู่อันดับในความสัมพันธ์ r ใช้สัญลักษณ์แทนด้วย R rดังนั้น  Rr = {y | (xy) ε r}

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาหาโดเมนและเรนจ์ในความสัมพันธ์ R

3.5 ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนจริง

3.5 ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนจริง หรือ มอดุลัส (อังกฤษabsolute value หรือ modulus) ในคณิตศาสตร์ คือ ผลต่างระหว่างจำนวนนั้นกับ 0 พูดง่ายๆคือ จำนวนที่ไม่มีเครื่องหมายลบ ตัวอย่างเช่น 3 คือค่าสัมบูรณ์ของ 3 และ −3
นิยามได้ดังนี้: สำหรับจำนวนจริงใดๆ aค่าสัมบูรณ์ของ a เขียนแทนด้วย |a| เท่ากับ a ถ้า a ≥ 0 และเท่ากับ −a ถ้า a < 0 (ดูเพิ่มเติม: อสมการ) |a| จะไม่เป็นจำนวนลบ ค่าสัมบูรณ์จะเป็นจำนวนบวกหรือศูนย์เสมอ นั่นคือจะไม่มีค่า a ที่ |a| < 0
ค่าสัมบูรณ์สามารถถือว่าเป็นระยะทางของจำนวนนั้นจากศูนย์ สัญกรณ์ของระยะทางในคณิตศาสตร์มักเขียนในรูปค่าสัมบูรณ์อยู่เสมอ เมื่อจำนวนจริงถูกพิจารณาเหมือนเป็นเวกเตอร์หนึ่งมิติ ค่าสัมบูรณ์คือขนาด และ p-นอร์มสำหรับ p ใดๆ ที่ตัวประกอบคงที่ ทุกๆนอร์มใน R1 จะเท่ากับค่าสัมบูรณ์: ||x||=||1||.|x|
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ค่าสัมบูรณ์เท่ากัน

3.4 การไม่เท่ากัน

3.4 การไม่เท่ากัน
สมบัติของการไม่เท่ากัน
บทนิยาม a < b หมายถึง a น้อยกว่า b
a > b หมายถึง a มากกว่า b
• สมบัติของการไม่เท่ากัน
กำหนดให้ a, b, c เป็นจำนวนจริงใดๆ
1. สมบัติการถ่ายทอด ถ้า a > b และ b > c แล้ว a > c
2. สมบัติการบวกด้วยจำนวนที่เท่ากัน ถ้า a > b แล้ว a + c > b+ c
3. จำนวนจริงบวกและจำนวนจริงลบ
a เป็นจำนวนจริงบวก ก็ต่อเมื่อ a > 0
a เป็นจำนวนจริงลบ ก็ต่อเมื่อ a < 0
4. สมบัติการคูณด้วยจำนวนเท่ากันที่ไม่เท่ากับศูนย์
ถ้า a > b และ c > 0 แล้ว ac > bc
ถ้า a > b และ c < 0 แล้ว ac < bc
5. สมบัติการตัดออกสำหรับการบวก ถ้า a + c > b + c แล้ว a > b
6. สมบัติการตัดออกสำหรับการคูณ
ถ้า ac > bc และ c > 0 แล้ว a > b
ถ้า ac > bc และ c < 0 แล้ว a < b
บทนิยาม a ≤ b หมายถึง a น้อยกว่าหรือเท่ากับ b
a ≥ b หมายถึง a มากกว่าหรือเท่ากับ b
a < b < c หมายถึง a < b และ b < c
a ≤ b ≤ c หมายถึง a ≤ b และ b ≤ c

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การไม่เท่ากัน

3.3.2 การเเก้สมการกำลังสองตัวแปรเดียว

3.3.2 การเเก้สมการกำลังสองตัวแปรเดียว (quadratic equations) คือ สมการของพหุนามตัวแปรเดียวที่มีดีกรีเท่ากับ 2 บางครั้งเรียกสมการกำลังสองว่า สมการดีกรี 2   รูปแบบทั่วไปของสมการกำลังสอง คือ
…………………….ax^2 + bx + c = 0
….. เมื่อ a, b, c  เป็นค่าคงตัว และ a \not= 0
…..การแก้สมการกำลังสอง หมายถึง การคำนวณเพื่อหาค่าของตัวแปร ซึ่งจะได้ค่าตัวแปร 2 ค่า โดยค่าทั้งสองอาจเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ ค่าของตัวแปรที่ได้บางครั้งเรียกว่า รากของสมการ หรือ คำตอบของสมการ
…..วิธีแก้สมการกำลังสอง ก่อนที่จะทำการคำนวณหาค่าตัวแปรของสมการกำลังสอง ให้จัดขวามือของเครื่องหมายเท่ากับให้เป็น 0 แล้วการคำนวณจะมีได้ 3 วิธี คือ โดยวิธีแยกตัวประกอบ โดยวิธีทำให้เป็นกำลังสองสมบูรณ์ และโดยวิธีใช้สูตร
…..การแก้สมการกำลังสองโดยวิธีแยกตัวประกอบ
…..ทำได้โดยการแยกตัวประกอบ (factors) แล้วใช้หลักว่า เมื่อผลคูณของตัวประกอบเป็น 0 (ขวามือขอเครื่องหมายเท่ากับ) แสดงว่า ตัวประกอบบางตัวเป็น 0 หรือทุกตัวประกอบเป็น 0
ตัวอย่างที่ 1 จงหาคำตอบของสมการ x^2-4x+3 = 0
วิธีทำ………..x^2-4x+3 = 0
……………(x-3)(x-1) = 0
……………………………..x = 1, 3……….#
ตัวอย่างที่ 2 จงแก้สมการ 8x^2-2x=3
วิธีทำ  จัดขวามือของเครื่องหมายเท่ากับให้เป็น 0
…………………….8x^2 - 2x - 3 = 0
………………..(4x-3)(2x+1) = 0
…………………………………….x =\frac{3}{4},  -\frac{1}{2}……….#
ตัวอย่างที่ 3 จงแก้สมการ  12x^2+9 = 56x
วิธีทำ…….12x^2-56x+9 = 0
…………(6x-1)(2x-9) = 0
………………………..x = \frac{1}{6}, \frac{9}{2}……….#
ตัวอย่างที่ 4 จงแก้สมการ y^2=\frac{1}{6}y+2
วิธีทำ  จัดสมการใหม่ได้เป็น  y^2-\frac{y}{6}-2 = 0
………. นำ 6  มาคูณทั้งสองข้างของสมการ จะได้
…………………….6y^2 - y - 12 = 0
…………………….(3y+4)(2y-3) = 0
…………………………………….y =-\frac{4}{3},  \frac{3}{2}……….#
ตัวอย่างที่ 5 จงแก้สมการ x^2+\frac{1}{12}x-\frac{1}{2} = 0
วิธีทำ  …….. นำ 12  มาคูณทั้งสองข้างของสมการ จะได้
……………..12(x^2+\frac{1}{12}x-\frac{1}{2}) = 12\times 0
…………………….12x^2+x-6 = 0
……………..(3x-2)(4x+3) = 0
……………………………… x = \frac{2}{3}, -\frac{3}{4}……….#
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การแก้สมการกำลังสองตัวแปรเดียว